วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

สมุนไพรใกล้ตัว


สมุนไพรใกล้ตัว

ฟ้าทะลายโจร
   
สรรพคุณ 
         1. แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
         2. ระงับอาการอักเสบ  พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ 
         3. แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
         4. เป็นยาขมเจริญอาหาร         
วิธีและปริมาณที่ใช้
    1. ถ้าใช้แก้ไข้เป็นหวัด ปวดหัวตัวร้อน
         *** ใช้ใบและกิ่ง 1 กำมือ (แห้งหนัก 3 กรัม สดหนัก 25 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2
         ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
    2. ถ้าใช้แก้ท้องเสีย ท้องเดิน เป็นบิดมีไข้
          *** ใช้ทั้งต้นหรือส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร ผึ่งลมให้แห้ง หั่นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ
          (หนักประมาณ 3-9 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มตลอดวัน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
       สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด

มะกรูด

สาระสำคัญ
                ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล,ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ
สรรพคุณทางยา
ขับลมแก้จุกเสียด
ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค
- แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
- ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือ ลนไฟให้เปลือกนิ่ม บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
- เป็นยาสระผม หรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อ ต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาด นอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม


ชะเอม

          ชะเอมไม้ยืนต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็ก ที่โคนก้านใบมีต่อมใหญ่1 ต่อม ดอกอัดแน่น เป็นช่อกลม ออกตามปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก รูปกรวยปลายแยก 5 แฉกเล็กๆ เกสรผู้จำนวนมากยาวยื่นพ้นกรวยดอก ดอกมีกลิ่นหอมผล เป็นฝักแบนยาว ปลายเรียว ฝักแก่สีน้ำตาลมีเมล็ด 5-8 เมล็ด พบตามป่าละเมาะ เชิงเขา ป่าชายทะเล
ลักษณะของพืช
           ต้นชะเอมป่า เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งแต่เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ลักษณะใบชะเอมป่าเล็กเป็นฝอยละเอียด คล้ายกับต้นส้มป่อยต้นหยงหรือกระถิน ดอกสีขาวเป็นช่อลักษณะฟูดอกเล็กๆ ส่วนฝักนั้นมีลักษณะบิดงอมีหนามตามกิ่งก้านตลอดจนลำต้นด้วย ดอกมี ลักษณะพิเศษเพราะมีกลิ่นหอมส่วนเนื้อในของเนื้อไม้มีรสหวานแบบชะเอมจีน
การใช้ในตำรายาแผนโบราณ
1. ราก      - แก้กระหายน้ำ เป็นยาระบาย
2. เนื้อไม้   - ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน
3. ดอก     - ช่วยย่อยอาหาร
สรรพคุณ
           ต้นหรือแก่นเอามาต้มดื่มแก้โรคในคอ แก้ไอ ทำให้ ชุ่มคอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ลม บำรุงธาตุ บำรุงกำลังและกล้ามเนื้อราก เอามาต้มดื่มเป็นยาระบายได้ดี ใบ เอามาต้มดื่มเป็นยาขับระดูในสตรีส่วนดอกเอามาต้มจิ้มน้ำพริกก็ได้ ต้มดื่มก็ดี ช่วย ย่อยขับเสมหะดีมาก

กานพลู


สรรพคุณ
           ดอก รสเผ็ด กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้หืด เป็นยาทำให้ร้อนเมื่อถูกผิวหนังทำให้ชา เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง มวนในลำไส้ แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา ทำอุจจาระให้ปกติ แก้ธาตุทั้ง 4 พิการ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย ขับผายลม กดลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ แก้สะอึก แก้ซางต่างๆ ขับระดู น้ำมันกานพลู (Clove oil) เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน โดยใช้สำสีชุบนำมาอุดที่ฟัน ระงับการกระตุก ตะคริว ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ผสมยากลั้วคอ แต่งกลิ่นอาหาร แต่กลิ่นสบู่ ยาสีฟัน ดับกลิ่นปาก ดับกลิ่นเหล้า ไล่ยุง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
1. แก้อาการ ท้องอืดเฟ้อ  ขับลม  
                ผู้ใหญ่-  ดอกตูม 4-6 ดอกใช้ทุบให้ช้ำ  ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ดอกแห้ง  5-8  ดอก  ต้มน้ำพอเดือด  ดื่มแต่น้ำ  ถ้าบดเป็นผง  0.12-0.6  กรัม  ชงน้ำสุกดื่ม  
               เด็กอ่อนใช้ดอกแห้ง  1  ดอก  ทุบแช่ไว้ในน้ำเดือด 1 กระติก (ความจุราวครึ่งลิตร)  สำหรับชงนมใส่ขวดให้เด็กดูด แก้ท้องอืด



ตะไคร้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus Stapf.
วงศ์ GRAMINEAE
ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย
รูปลักษณะ : ไม้ล้มลุกทีมีอายุได้หลายปี ชอบดินร่วนซุย ปลูกได้ ตลอดปี ใบสีเขียวยาวแหลม ดอกฟูสีขาว หัวโตขึ้น จากดินเป็นกอๆ กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างร้อน
การปลูก : ไถพรวนดินและตากดินไว้ประมาณ 7 - 10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากับดินขุดหลุมปลุกระยะ 30 x 30 เซนติเมตร ก่อนนำตะไคร้ไปปลูก นำพันธุ์ที่เตรียมไว้ตัดใบออก ให้เหลือต้นยาว ประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร มาแช่น้ำประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อให้รากงอก รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม นำไปปลุกในแปลงวางต้นพันธุ์ ให้เอียง 45 องศา ไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดิน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกได้ประมาณ 30 วัน ก็ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 หรือ 46 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำมันจากใบและต้น แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม สบู่
ลำต้นแก่หรือเหง้า แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น